วันพุธที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2559

Project ที่ผมทำเป็น Six Sigma หรือเปล่า

Project ที่ผมทำเป็น Six Sigma หรือเปล่า?

ห่างหายไปนาน เพราะมัวแต่ยุ่งๆอยู่ พอกลับมาอีกที มีคนติดตามด้วยแห๊ะ เอาเป็นว่า ถ้าอยากทราบอะไร แล้วผมรู้ก็จะมาตอบให้ ส่วนอันไหนไม่รู้จะหามาให้นะครับ ขอบคุณแฟนเพลง ที่รักทุกท่านที่ติดตาม

หลายคนมีโปรเจค ติดตั้งเซนเซอร์ เพื่อดักของเสีย มาถามผมว่า พี่อันนี้เป็น Green Belt ได้มั้ย? บางคนทำ Quaick Changeover พี่อันนี้ได้มั้ย? บางคน ทำ Jig Fixture (Poka Yoke) เป็นโปรเจคประเภทไหนพี่ มันปรับปรุงคุณภาพนะ ต้องเป็น Green Belt ได้สิ?

เป็นสิ่งที่พบได้มากที่สุด ตั้งแต่ทำงานด้านนี้มา ก่อนอื่น เรามาดูนิมยามของ Project กันก่อน ตอนนี้เรารวม Six Sigma และ Lean เข้าด้วยกัน ไม่แบ่งแยกเหมือนเมื่อก่อน แล้วก็มีอีก เราจะใช้ PDCA หรือ DMAIC ดีละ เอาละสิ ทำไงละทีนี้

สรุปได้ว่า ถ้าองค์กรใดใช้ Lean Six Sigma ให้ใช้ DMAIC เพราะ DMAIC ก็มีรากเหง้ามาจาก PDCA ของ Dr.Edward Demming หรือ วงจรการปรับปรุงของ Walter A. Shewhart ซึ่ง ชิวฮาร์ดคิดค้น และ เดมมิ่งนำไปเผยแพร่ใน ญี่ปุ่น และก็ดังเปรี้ยงปร้าง เพราะ เดมมิ่ง เสนอให้ ญี่ปุ่นมุ่งเน้น คุณภาพ จากสินค้า กากๆ กลายเป็น เมื่อต้องการสินค้าดีมีคุณภาพ ต้องแบรนญี่ปุ่น เท่านั้น ถ้าใครเกิดรุ่นผม ก็น่าจะทัน สินค้าห่วยจากญี่ปุ่น สินค้าดีในสมัยนั้น คือ สินค้า อังกฤษ เช่น จักรซิงเกอร์ ร่ายมา ซะยาว

นิยามของแต่ละโปรเจค
1. Black Belt Project : มีปัญหาเรื้อรังมานาน ไม่รู้สาเหตุ ไม่รู้วิธีการแก้ไข ใช้เวลาประมาณ 6-8 เดือน และมี Benefit สูง  DMAIC
2, Green Belt Project : ปัญหาไม่ซับซ้อนมากนัก  ใช้เวลาไม่เกิน 3 เดือน ไม่จำต้องต้องใช้ DOE เป็นต้น DMAIC
3, Kaizen Project : ใช้ Lean Tool เป็นหลัก มุ่งเน้น Flow การไหล ลด Lead Time. DMAIC
4. Just Do it          : รู้สาเหตุ รู้วิธีการแก้ไข เหลือแค่ลงมือทำ  1 page Before and After

เห็นแล้วใช่มั้ยครับ ง่ายนิดเดียว